วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

แก้วโป่งขาม กับความเชื่อ


มนุษย์เรามีความเชื่อถือในเรื่องพลังของแก้ว แต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
 แก้วโป่งข่ามยังมีคุณในแก้วต่างชนิด จากประสบการณ์ต่างๆตามลักษณะความเชื่อถือที่ ต่างออกไป
โดยมีความเชื่อว่า แก้วเป็นผู้เลือกเจ้าของ ถ้าใครได้ครอบครองถือเป็นผู้มีบุญบารมี
จึงมีการบูชาและมีคาถาเพื่อการบูชา


คาถาบูชาแก้วโป่งข่าม
ข่ามคง, แคล้วคลาด (แก้วทุกชนิด)
นะมะพะทะ นิมิพิทิ นุมุพุทุ

แก้วทุกชนิด
นะอุกะอะ นะมะมะอะ มะอุมะนะ อะนะอะมะ อะอุอุมะ อุนะอุอะ
(เจริญด้วยทรัพย์สมบิติ ปราศจากโรคภัย)

พิรุณแสนห่า(หรือแก้วชนิดอื่น)
พุทโธโมเธยยัง มุตโตโมเจยยัง ติณโณตาเรยยัง ปะสะหังปะตัง

หมอกมุงเมือง(หรือแก้วชนิดอื่น)
เทวะรานะมานะ (ภาวนาให้เกิดความร่มเย็น)

แก้วทราย(หรือแก้วชนิดอื่น)
สะมามิมิทธิมามิ (เจริญด้วยสมบัติ ร่ำรวยเงินทอง)


แก้วโป่งข่ามกับพิธีกรรม
การล้างแก้ว
เชื่อกันว่าการล้างแก้วเป็นการชำระล้างสิ่งไม่ดีที่แก้วได้ซึมซับเอาไปจาก ตัวเรา
โดยการนำแก้วไปล้างกับน้ำที่ไหล ซึ่งอาจจะเป็นลำธาร, ก๊อกน้ำ หรือน้ำที่รินออกจากแก้วก็ได้
(ล้างได้บ่อยเท่าที่มีโอกาส)

การขึ้นพานบูชาแก้ว จะกระทำกันในวันพระ โดยเฉพาะวันพระขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ)
โดยการนำเอาน้ำสะอาด 1 แก้ว, ดอกไม้หรือเครื่องหอม (น้ำอบ, แป้งหอม ฯลฯ) ใส่พาน
และกำหนดจิตด้วย คาถาบูชาแก้ว (หากเป็น “แก้วเข้าแก้ว” ขอแนะนำให้หาหมากหนึ่งคำใส่พานด้วย)

แก้วอาบแสงจันทร์ การนำแก้วอาบแสงจันทร์ (วันเพ็ญ)
เชื่อกันว่า แก้วจะดูดซับพลังจากแสงจันทร์ ซึ่งจะมีผลทำให้แก้วมีพลังอานุภาพมากยิ่งขึ้น
และยังเป็นการทำให้แก้วนั้นบริสุทธิ์อีกด้วย (เป็นที่ทราบกันดีว่า ในทางวิทยาศาสตร์ระบุว่าดวงจันทร์มีพลังที่ส่งผลกระทบถึงโลก อันเป็นสาเหตุของน้ำขึ้น น้ำลง และอื่น ๆ)

การเข้าร่วมพิธีกรรมอื่น ๆ

เป็นการนำแก้วโป่งข่ามเข้าร่วมพิธีกรรมต่าง ๆ ของพระภิกษุสงฆ์ เนื่องจากแก้วจะได้ซึมซับพลังจากการแผ่เมตตาจิตของพระภิกษุ



ทั้งนี้สิ่งต่าง ๆที่กล่าวมานั้น ล้วนเป็นความเชื่อแต่โบราณมา ถ้ามีความเชื่อและศรัทธา
ก็จะเพิ่มพลังอานุภาพแห่งความศักดิ์ของหินศักดิ์สิทธิ์แก้วโป่งขาม
แต่ถ้าไม่มีความเชื่อและศรัทธาแล้ว ก็เหมือนกับหินธรรมดาก้อนหนึ่งเท่านั้นเอง

คำเตือน โปรดใช้วิจารณญานในการติดสินใจเชื่อหรือศรัทธา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น