วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

อโรมาเทอราปี...การใช้กลิ่นบำบัด..เลือกกลิ่นตามเดือนเกิด

อโรมาเทอราปี...การใช้กลิ่นบำบัด..เลือกกลิ่นตามเดือนเกิด

ความรู้ทางการแพทย์ด้วยการใช้กลิ่นบำบัดมาจาก ชาวกรีกโบราณ
และได้พัฒนาความรู้เกี่ยวกับอโรมาออยล์และน้ำมันหอมแพร่กระจาย จนได้รับความนิยมมากขึ้น
ในการแพทย์สาขาอายุรเวทการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย
การนำกลิ่นหอมมาผสมกับน้ำมันหรือครีม-ไขมันสัตว์ต่างๆ นั้น
เป็นที่รู้จักและใช้กันมานานแล้ว แต่การใช้อโรมา (กลิ่นหอม) ในสมัยโบราณ
ก็ยังไม่มีการค้นคว้าอย่างจริงจัง ถึงคุณสมบัติและสรรพคุณของสารหอมและที่มาของแต่ละชนิด

คำว่า AROMA THERAPY อโรมา-เธอราปี คืออะไร ?
    AROMA (อโรมา) แปลว่า กลิ่น กลิ่นหอม
    THERAPY (เธอราปี) แปลว่า การบำบัดรักษา
    AROMA THERAPY (อะโรมา-เธอราปี) หมายถึง การบำบัดรักษาโรคโดยใช้กลิ่นหอม

คำว่า AROMA THERAPY (อโรมา-เธอราปี) ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรก
โดยนักเคมีชาวฝรั่งเศส ชื่อ RENE MAURICE GATTEFOSSE (เรเน มอริช กัดฟอส)
เมื่อปี ค.ศ.1928 อโรมา-เธอราปี จะเป็นการนำประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหย
ที่ทำให้ร่างกาย และจิตใจอารมณ์เกิดความสมดุล

หลักการนี้ถูกนำมาศึกษา
โดยใช้หลักทางสรีรศาสตร์ที่มนุษย์สามารถสัมผัสรับกลิ่น (OLFACTORY NERVES)
ซึ่งอยู่เหนือโพรงจมูก (NASAL CAVITY) เมื่อกลิ่นต่างๆ จากโมเลกุลของละอองเกสรดอกไม้
ผ่านกระเปาะรับกลิ่น (OLFACTORY BULBS) ที่ต่อกับลิมบิค ซีสเต็ม (LIMBIC SYSTEM)
ซึ่งเป็นสมองส่วนควบคุมอารมณ์และความทรงจำ

    โดยปกติแล้วระบบทางเดินหายใจ
จะเริ่มต้นจากการหายใจเข้า (INHALE) และหายใจออก (EXHALE)
เพื่อให้เลือดดูดซับออกซิเจนที่สูดเข้าไป และเปลี่ยนสภาพและสร้างเป็นพลังงานให้ร่างกาย
หากอากาศที่ผ่านเข้าสู่สมองและปอดไม่บริสุทธิ์ เช่น อากาศเสียจากท่อไอเสีย
จากบุหรี่ จากสารพิษ ฯลฯ  ก็จะทำให้สารพิษที่ปนอยู่ในอากาศเสียนั้น
ตกค้างอยู่ในระบบทางเดินหายใจ และมีผลกระทบต่อระบบประสาท
ลิมบิค ซีสเต็ม เป็นผลทำให้ อารมณ์ และความทรงจำแปรปรวนไปด้วย
การทำงานของระบบทางเดินหายใจ  และระบบรับกลิ่นทำงานเช่นเดียวกันทั้งกลิ่นดีและกลิ่นเสีย

ดังนั้น กลิ่นหอมที่สูดดมเข้าร่างกายก็เช่นกัน และด้วยหลักการเดียวกันนี้เอง
น้ำมันหอมระเหยที่ถูกสกัดจากพืชสมุนไพรหลากหลายชนิด
จึงได้ถูกค้นคว้าวิจัยเพื่อ นำมาบำบัดรักษาโรคต่างๆ เพราะคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ของพืชสมุนไพร
ซึ่งผ่านการค้นคว้ามาแล้วจากหลายสถาบัน หลายอารยธรรม หลายช่วงกาลเวลาถูกสั่งสมมานาน
จนทำให้คุณค่าของความรู้ ทางด้านน้ำมันหอมระเหยมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

และด้วยคุณสมบัติในน้ำมันระเหยนี้ สามารถนำมาใช้โดยการนวด ให้ซึมผ่านผิวหนัง
บางชนิดก็เป็นสารสกัดเป็นสารสกัดที่กำจัดแบคทีเรียได้ บ้างก็ช่วยแก้ภูมิแพ้ ที่ผิวหนัง
ช่วยกระชับผิวให้เต่งตึง ส่วนกลิ่นที่ได้จากสารสกัดสุมนไพรนี้
จะช่วยกระตุ้นเปลี่ยนสภาพอารมณ์และจิตใจ เมื่อกลิ่นผ่านระบบประสาทลิมบิค ซีสเต็ม
เช่น ช่วยให้สงบ ช่วยให้ผ่อนคลาย ช่วยให้กระปรี้กระเปร่า ช่วยคลายเครียด
ช่วยลดความกระวนกระวายใจ ฯลฯ

ศาสตร์การบำบัดความเครียด โดยใช้ความหอมของสมุนไพรนานาชนิดนี้
เป็นเครื่องมือ หรือที่เราเรียกว่า อโรมาเทอราปี นั่นเอง

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเราควรเลือกใช้น้ำมันหอมระเหยอย่างไรให้เหมาะสมกับตัวเรา
การเลือกกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยก็สามารถเลือกได้ตามความชอบ
แต่ถ้าคนไหนที่ยังหากลิ่นที่ถูกใจและเหมาะสมกับตนเองไม่ได้
ให้ใช้หลักการง่ายๆ โดยการเลือกกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยตามเดือนเกิดของตนเอง

กลิ่นRos
    กลิ่น Lavender
กลิ่น Vanilla
กลิ่น Lavender, Vanilla และ Rose
ทั้ง 3 กลิ่นนี้เหมาะกับผู้ที่เกิดเดือนสิงหาคม กันยายน ตุลาคม


กลิ่น Camomile
กลิ่น Chrysantemum
กลิ่นApple
กลิ่น Cinnamon

       กลิ่น Camomile,Chrysantemum, Apple และ Cinnamon
เหมาะกับผู้ที่เกิดเดือนพฤศจิกายน ธันวาคม มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน

  กลิ่น Orange
กลิ่น Ginger





        กลิ่น Orange และ Ginger
เหมาะกับผู้ที่เกิดเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม 

 
กลิ่น Lemonglass


กลิ่นSpearmint

     กลิ่น Lemonglass, Spearmint
เหมาะกับผู้ที่เกิดเดือนพฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม
          

กลิ่นSaffron

กลิ่นHibicust

กลิ่นCherry

  กลิ่น Lemongrass Saffron Hibicust Cherry
เหมาะกับผู้ที่เกิดเดือนพฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม

          กลิ่น Cherry กลิ่นChrysanthemum
เหมาะกับผู้เกิดเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน

          การเลือกใช้น้ำมันหอมที่เหมาะกับตัวเรา
จะส่งผลโดยตรงต่อระบบประสาทและการทำงานอันซับซ้อนทางอารมณ์ของเรา
จะก่อให้เกิดพลังงานในตัวเรา และเกิดเป็นแรงในการทำงาน
ในทางตรงกันข้ามกลิ่นที่ไม่เหมาะกับเราจะส่งผลในเชิงลบ
ร่างกายจะหมดเรี่ยวแรง หรือหน้ามืดได้เลยทีเดียว






ที่มา สำนักการแพทย์ทางเลือก
ที่มา ไทยโพสต์
ภาพประกอบอินเตอร์เน๊ท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น