วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

บันทึกแผ่นดินไหวในประเทศไทย ปี 2554



ไม่รู้ว่าหลังจากเหตุการณ์ Super Moon ในวันที่ 19 มีนาคม 2554
ที่ใครๆ ก็ต่างทำนายกันไปต่าง ๆ นานา
จะเกี่ยวกับแผ่นดินไหว หรือเหตุการณ์ภัยพิบัติอะไรจะเกิดขึ้นอีกก็ไม่รู้ แต่ก็อยากจะบันทึกไว้
เพื่อดูว่า จะตรงกับคำทำนายที่ท่านทั้งหลายทำนายไว้หรือเปล่า
วันที่ 21 มีนาคม
ปาย แผ่นดินไหว 3.1 ริกเตอร์
วันที่ 21 มีนาคม เมื่อเวลา 18.23 น. สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา
รายงานว่าได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 3.1 ริกเตอร์ รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนได้
ในพื้นที่ ต.เวียงเหนือ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน โดยศูนย์กลางของแผ่นดินไหว
ห่างจากตัว อ.ปาย 13 กิโลเมตร

ด้าน นายอดิศร ฟุ้งขจร รองโฆษกสาขาภาคเหนือ กรมอุตุนิยมวิทยา
ระบุว่า แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก
เบื้องต้นยังไม่มีรายงานความเสียหายเกิดขึ้น

วันที่ 25 มี.ค. 54
 แผ่นดินไหวภาคเหนือ
วันที่ 25 มี.ค. 54 เผยคลิปขณะเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.7 ริกเตอร์ที่ภาคเหนือของประเทศไทยโดยมีศูนย์กลางอยู่ใกล้ชายแดนไทย-พม่า ด้านรัฐฉาน ห่างจาก อ.แม่สาย จ.เชียงรายไปทางทิศเหนือ เป็นระยะทาง 56 กิโลเมตร เบื้องต้นจากเหตุดังกล่าวทำให้มีคนไทยเสียชีวิตแล้ว 1คน เนื่องจากกำแพงถล่มทับ

แผ่นดินไหวภาคเหนือ 6.7 ริกเตอร์ ในชายแดนพม่า สั่นถึง ไทย กรุงเทพ รู้สึก

เมื่อเวลา 20.55น.เกิดแผ่นดินไหว ศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศพม่า ความแรง 6.7 ริกเตอร์ รายงานข่าวแจ้งว่า แรงสั่นสะเทือนได้กระจายไปทั่วภาคเหนือ ทั้ง แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน แพร่ ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสร้างความแตกตื่นตกใจให้กับประชาชน โดยเฉพาะในตึกสูงต่างพากันวิ่งหลบหนีออกมาจากตัวอาคารอย่างโกลาหล ซึ่งรู้สึกได้ถึงตึกสูงในกรุงเทพฯ

ทั้งนี้ ศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ที่ประเทศพม่า ความลึก 10 กิโลเมตร ห่างจากนครย่างกุ้ง 589 กิโลเมตร และห่างจังหวัดเชียงราย 89 กิโลเมตร  ซึ่งความเป็นไปได้ที่จะเกิดสึนามินั้น กรมอุตุวิทยายังระบุว่า จะไม่เกิดสึนามิ และอย่าพึ่งตื่นตระหนก ต้องรอการรายงานเป็นระยะ
สำหรับ ความเสียหายเบื้องต้น บ้านเรือนหลายหลังในจังหวัดภาคเหนือพังเสียหาย สัญญาณโทรศัพท์ขายหายนานนับ 10 นาที จังหวัดเชียงรายไฟฟ้าดับกว่าครึ่งเมืองที่จังหวัดเชียงราย มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย คือ นางหงษ์ อายุ 55 ปีหลังเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง ประกอบกับมีอาฟเตอร์ช็อค 2 ครั้ง บ้านของผู้ตายสร้างด้วยปูน ทำให้ล้มทับ นอกจากนี้ เสาไฟฟ้าในตัวเมืองยังมีความเสียหาย การติดต่อทางโทรศัพท์เป็นไปด้วยความลำบาก เจ้าหน้าที่ต้องใช้วิทยุในการสื่อสาร
อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯอเมริกายืนยันไม่แจ้งเตือนภัยสึนามิจากเหตุแผ่นดินไหวดังกล่าว เพราะศุนย์กลางอยู่ลึกลงไปใต้ดิน แต่ยังเฝ้าระวังอาฟเตอร์ช็อกที่อาจเกิดขึ้นตามมาเมื่อไหร่ก็ได้
หลังจากนั้น เวลาประมาณ 22.00 น. เกิด อาฟเตอร์ช็อกขึ้น โดยความแรงอยู่ที่ 5 ริกเตอร์ ขณะที่ชาวบ้านจังหวัดในภาคเหนือส่วนใหญ่ ตอนนี้ไม่กล้าเข้าไปยังที่พักอาศัย ซึ่งบางส่วนได้มารวมตัวกันในสนามที่กีฬาบริเวณใกล้เคียง
ล่า สุด เกิดอาฟเตอร์ช็อกมากถึง 10 ครั้งแล้ว โรงพยาบาลหลายแห่งในจังหวัดเชียงรายเริ่มอพยพผู้ป่วย ส่วนความเสียหายจากแผ่นดินไหวพระธาตุเจดีย์หลวง ที่อำเภอเชียงแสน ยอดหัก พระธาตุจอมกิตติยอดเริ่มเอียง พระธาตุภูเข้ามีรอยร้าว

พระธาตุ 4 แห่ง ในเชียงรายเสียหาย จากแผ่นดินไหวภาคเหนือ

หลัง จากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่พม่า ซึ่งแรงสั่นสะเทือนรู้สึกได้ถึงหลายจังหวัดในประเทศไทย และส่งผลให้เกิดความเสียหาย ต่อโบราณสถาน 4 แห่งใน จ.เชียงราย คือ
1.พระธาตุเจดีย์หลวง เสียหายหนัก บริเวณยอดฉัตร ประมาณ 3 เมตร หักโค่นหล่นลง
2. พระธาตุจอมกิตติ ยอดฉัตรงอ 30-40 องศาฯ
3. วิหารวัดพระธาตุภูเข้า
4.พระโมฬี ยอดหักงอ
ขอบคุณภาพจาก ครอบครัวข่าว 3

ขอบคุณข้อมูลจาก mthai



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น