วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554

การเตรียมตัวรับภัยพิบัติ

เมื่อวานได้เกิดสึนามิที่ญี่ปุ่น ดูข่าวแล้วเศร้าใจ คงถึงเวลาที่โลกเรามีการเปลี่ยนแปลง
ในด้านที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่มวลมนุษย์ เนื่องจากภาวะโลกร้อน ทำให้เกิดปฏิกิริยา
ต่าง ๆ ขึ้นมา ทำให้รู้สึกว่าทุกๆ ที่ในโลกนี้เริ่มไม่ปลอดภัยอีกต่อไปแล้ว
ดังนั้นจึงควรมีการเตรียมตัวไว้รับมือกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
การเตรียมตัวในที่นี้ไม่ได้หมายถึงจะต้องแตกตื่นรีบทำอะไร โดยที่ยังไม่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น

แต่คิดว่า เริ่มแรก พวกเราควรจะเตรียมใจ เตรียมพร้อมกับมือกับสถานะการณ์ต่าง ๆ ได้ทุกเมื่อ
เพราะถ้าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นมา ก็สามารถแก้ไขสถานะการณ์นั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี
           สิ่งแรกที่เราควรจะมีในกรณีที่เกิดภัยพิบัติ หรือเหตุการณ์ร้ายแรงต่าง ๆ คือ
สติค่ะ มีสติอยู่กับตัวเป็นสิ่งจำเป็นมาก ในการที่จะพาเราให้พ้นจากเหตุการณ์ร้ายต่าง ๆ ได้

DON'T BE PANIC
อย่าตื่นตระหนกจนเกินไป

ภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

1. เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่
2. พายุถล่ม
3. แผ่นดินแยก และแผ่นดินไหว
4. ภูเขาไฟระเบิด
(จังหวัดทางภาคกลาง 2 ลูก, ภาคเหนือตอนล่าง 3 ลูก,
อีกทั้งที่จังหวัดราชบุรี / น่าน / แพร่ / อ.ร้องกวาง )
5. คลื่นยักษ์จากทะเล
6. โรคระบาดที่สุดจะเยียวยา ได้แก่ VIRUSTERIA , อหิวาตกโรคสายพันธุ์ใหม่
ผู้ได้รับเชื้อจะเสียชีวิตทันที ภายใน 6 วัน
7. คลื่นเสียงที่รุนแรง ตั้งแต่เกิดมาในชีวิตจะไม่เคยได้ยินเสียงที่ดังขนาดนั้นมาก่อน
8. อดอยากขาดแคลนอาหาร

การเตรียมตัว เตรียมปัจจัยเพื่อตนเองและสมาชิกในครอบครัว

1. เตรียมอาหารและน้ำดื่ม ไว้ที่บ้านอย่างน้อย 3 - 6 เดือน
2. เครื่องนุ่งห่มเพื่อความอบอุ่นของร่างกาย
ได้แก่เสื้อผ้า กระเป๋าน้ำร้อน ผ้าห่ม ฯลฯ เพราะในช่วงเวลานั้นอากาศจะหนาวเย็นยะเยือกจับขั้วหัวใจ
3. เครื่องใช้ที่จำเป็น เช่น ไฟฉาย
4. ที่อยู่อาศัย ที่หลบภัย
5. ยารักษาโรค
6. ด่างทับทิมและคาราไมล์ (จำเป็นมาก)
ห้ามกินอาหารที่ไม่ได้ล้างด้วยด่างทับทิม เพราะจะมีทั้งเชื้อโรคและสารกัมมันตรังสี
ส่วนคาราไมล์ จะมีไว้รักษาโรคทางผิวหนังที่ดูเหมือนจะยากต่อการรักษา แต่เมื่อทาคาราไมล์แล้ว
จะหายได้อย่างน่าอัศจรรย์
7. ยานพาหนะ เช่น เรือ เสื้อชูชีพ
8. เครื่องช่วยชีวิต
9. แสงสว่าง เช่นเทียน ตะเกียงพายุ (เวลานั้น ท้องฟ้าจะมืดมิด 7 วัน เท่ากับ 1 ราตรี
และจะมืดมิดรวม 7 ราตรี หรือ 49 วัน ไฟฟ้าจะดับทั่วโลก)
10. เตรียมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
การดูแลตัวเองในช่วงเวลาวิกฤติ

1. ห้ามออกนอกบ้านโดยเด็ดขาด ใครมาเคาะประตูบ้านก็ห้ามเปิด ไม่ว่าคนผู้นั้นจะเป็นญาติสนิท หรือคนที่เรารู้จักก็ตาม
2. ห้ามตากฝน เพราะในฝนจะมีพิษ ทั้งเชื้อโรค สารเคมีที่มนุษย์สร้าง
3. ห้ามลุยน้ำหรือแช่น้ำนานๆ แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องใช้ด่างทับทิมล้างทุกครั้ง
4. ห้ามเปิดประตูต้อนรับผู้อื่น เพราะช่วงเวลานั้น ประตูมิติของโลกทั้ง 3 ภพจะถูกเปิดเป็นครั้งแรก ผู้ที่ไม่เชื่อเรื่องผีสาง จิตวิญญาณก็จะได้เห็น คนที่มาเยือน อาจเป็นผีเปรต ผีโขมด ที่เป็นเจ้ากรรมนายเวรของเราจำแลงมาก็เป็นได้ และห้ามอยากรู้อยากเห็นโดยเด็ดขาด
5. ห้ามกินเนื้อสัตว์ทุกชนิด
6. ห้ามกินผักที่ยังไม่ได้แช่ด่างทับทิม
7. ฝึกการกินน้อย ถ่ายน้อย
8. ระวังอากาศที่หนาวเย็น
9. ระวังสัตว์ร้าย สัตว์มีพิษ เช่น งูพิษ จระเข้
10. ห้ามอยู่ตึกสูงเกิน 3 ชั้น เพราะตึกสูงเกิน 3 ชั้น จะพังทลายราบเป็นหน้ากลอง

การเตรียมทางจิตวิญญาณ

1. ชำระกรรมให้เบาบาง ทำได้โดย
1.1 หยุดโลภ โกรธ หลง
1.2 ทำจิตให้สงบ เบิกบาน เพราะวันนั้นจะมีผู้ที่เส้นโลหิตในสมองแตก เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เพราะเสียงที่ดังกึกก้องไปกระตุ้นเส้นเลือดในสมองให้แตก ดังนั้นต้องปล่อยวาง ทำจิตให้เป็นบวก จะช่วยได้มาก
2. มีสำนึกทางจิตวิญญาณ
3. ฝึกการละวาง
4. มีสติรู้ตัวตลอดเวลา
5. ฝึกการทำโมฆกรรม ขออภัยต่อเจ้ากรรมนายเวร หรือผู้ที่เราล่วงละเมิด

การดูแลแก่นแท้ยามมีภัย

1. ได้ยินเสียงใด ให้ละวางเสียงนั้น / รู้เห็นสิ่งใด ให้ละวางสิ่งนั้น
ต้องไม่รับรู้ ไม่รับเห็น ไม่รู้ ไม่ชี้ ไม่ว่าจะได้ยินเสียงคนข้างบ้านร้องเพราะกำลังจะตาย หรือได้ยินเสียงใดที่น่าหวาดกลัว ต้องได้ยินแล้วผ่านเลยไป
ถ้าหากละวางไม่ได้ จะเกิดอาการ “ตายก่อนตาย” (รู้ว่าตนเองจะต้องตายแน่ๆ หรือการตายทั้งเป็น)
2. ยอมรับให้ได้ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ต้องมีสติตลอดเวลา
3. อย่าอยู่นิ่งเฉย เพราะจะทำให้เกิดความกลัวมากขึ้น ควรหากิจกรรมทำ เช่น อ่านหนังสือธรรมะ เพื่อให้จิตเป็นบวก เกิดความอิ่มเอิบ
4. สังเกตธรรมชาติก่อนนาทีวิกฤติจะเกิดขึ้น


ก่อนเกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ (ระยะ 2 ) จะมีลางบอกเหตุดังนี้

1. ท้องฟ้ามืดมิดผิดปกติ
2. ใบไม้จะพลิกคว่ำพลิกหงายแลดูหดหู่
3. สัตว์ทั้งหลายจะไม่ออกมาปรากฏกายให้เห็น แต่ถ้ามีสัตว์เลี้ยงอยู่ในบ้านจะแลเห็นมันวิ่งลุกลี้ลุกลนผิดปกติ หรือบางตัวจะนอนนิ่งมีน้ำตาซึม
            

ในกรณีเกิดแผ่นดินไหว การปฏิบัติตัวและการป้องกัน

ก่อนการเกิดแผ่นดินไหว
1. ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และให้ทุกคนทราบว่าอยู่ที่ไหน
2. ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
3. ควรมีเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น เครื่องดับเพลิง ถุงทราย เป็นต้น
4. ควรทราบตำแหน่งของวาล์วปิดน้ำ วาล์วปิดก๊าซ สะพานไฟฟ้า สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า
5. อย่าวางสิ่งของหนักบนชั้น หรือหิ้งสูง ๆ เมื่อแผ่นดินไหวอาจตกลงมาเป็นอันตรายได้
6. ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
7. ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมาย ในกรณีที่ต้องพลัดพรากจากกัน เพื่อมารวมกันอีกครั้ง ในภายหลัง
8. สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว

ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว
1. อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติอยู่อย่างสงบ ถ้าท่านอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าท่านอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้าออกจากบ้าน
2. ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืนหรือมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง ที่สามารถรับน้ำหนัก ได้มาก และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง
3. หากอยู่ในอาคารสูง ควรตั้งสติให้มั่น และรีบออกจากอาคารโดยเร็ว หนีให้ห่างจากสิ่งที่จะล้มทับได้
4. ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ ที่ปลอดภัยภายนอกคือที่โล่งแจ้ง
5. อย่าใช้ เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น
6. ถ้าท่านกำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด
7. ห้ามใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว
8. หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง

หลังเกิดแผ่นดินไหว
1. ควรตรวจตัวเองและคนข้างเคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ให้ทำการปฐมพยาบาลขั้นต้นก่อน
2. ควรรีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาคารอาจพังทลายได้
3. ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ เพราะอาจมีเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่น ๆ และสิ่งหักพังแทง
4. ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟ
หรือก่อไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว
5. ตรวจสอบว่า แก๊สรั่ว ด้วยการดมกลิ่นเท่านั้น ถ้าได้กลิ่นให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบาน
6. ให้ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด และวัสดุสายไฟพาดถึง
7. เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน
ฟังข่าววิทยุได้ทาง NHK Radio 963, in English, Chinese, Korean, Spanish,
Portuguese, German, and French.
อย่าใช้โทรศัพท์ นอกจากจำเป็นจริง ๆ ให้นึกเสมอว่ายังมีคนที่ยังต้องการใช้โทรฉุกเฉินอยู่
8. สำรวจดูความเสียหายของท่อส้วม และท่อน้ำทิ้งก่อนใช้
9. อย่าเป็นไทยมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูง หรืออาคารพัง
10. อย่าแพร่ข่าวลือ
           

คำเตือน
ถ้าอยู่ใกล้ทะเลหรือแม่น้ำ ให้ระวังเรื่องสึนามิ
อย่าใช้โทรศัพท์โดยไม่จำเป็น

สามารถใช้อีเมล์ สไกป์ เฟซบุ้ค ทวิตเตอร์ได้ตามปกติ (อินเตอร์เน็ตใช้ได้) เร็วกว่าโทรศัพท์แน่นอน (ในตอนนี้)
โทร 171 ฝากข้อความกับเบอร์โทรไว้
เพื่อที่ใครที่รู้เบอร์โทรคุณจะสามารถเช็คว่าคุณเป็นอย่างไรได้
มีบริการกูเกิ้ลเพอร์ซัน ไฟน์เดอร์ 
สามารถติดตามข่าวสารแผ่นดินไหวได้ที่
http://earthquake.usgs.gov/earthquakes/recenteqsww/Maps/region/Asia.php
สวมเสื้อผ้าที่ให้ร่างกายอบอุ่น
เตรียมพร้อมหากไฟดับแม้เขตที่คุณอยู่ไฟยังไม่ดับ
ตรวจสอบศูนย์อพยพในพื้นที่ใกล้เคียง สวนสาธารณะ โรงเรียน ที่สาธารณะที่มีคนอยู่มากๆ
มักจะใช้เป็นที่อพยพ
ผู้หญิงอย่าอยู่คนเดียว ระวังพวกฉวยโอกาส พยายามอยู่รวมกลุ่มกันไว้
ถ้าเดินกลับบ้านแล้วใช้เวลานาน ลองคิดอีกที เพราะอาจจะดีกว่าหากอยู่ที่ศูนย์อพยพ
หรือค้างบ้านเพื่อนก่อน

ขอให้ทุกๆคนปลอดภัย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น