วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิธีการป้องกันการถูกขโมยข้อมูลส่วนตัวบนเน็ต ไปใช้

ไม่ใช่เรื่องใหม่เลยที่การหลอกขโมยข้อมูลต่าง ๆ  ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ
ของพวกมิจฉาชีพ แต่ก็ยังมีผู้ตกเป็นเหยื่อของอาชญกร อินเตอร์เน็ตพวกนี้อยู่เรื่อยๆ
ล่าสุดกรณีของ “เชอรรี่ หนูผี” ที่ถูกขโยข้อมูล อีเมล์ ไปใช้โดยการหลอก ให้กรอกข้อมูลต่าง ๆ
ผ่านทางอีเมล์ ก็เป็นอีกกรณีหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้งาน อินเตอร์เน็ตทุกวันนี้
ต้องมีความระมัดระวังตัวกันมากขึ้น และบทความด้านล่างนี้
ทางกอง บก.ของ ARIP.CO.TH ได้เขียนขึ้นเพื่อให้เป็นแนวทางให้ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตนำไปปฏิบัติ
เพื่อป้องกันตนเองจากการถูกขโมยข้อมูล  เห็นว่ามีประโยชน์ดีเลยหยิบมาให้ได้อ่านและศึกษากัน
เพื่อป้องกันตัวเอง

1. การอนุญาตให้แชร์ข้อมูลส่วนตัว แนะนำให้ลงทะเบียนในเว็บไซต์เฉพาะช่องที่ทางเว็บไซต์
ต้องการข้อมูลจริงๆ ส่วนช่องอื่นๆ พิจารณาดูตามความเหมาะสม จากนั้นกวาดสายตาหาเช็คบ๊อกซ์
ที่ระบุว่า มีการแชร์ข้อมูลส่วนตัวของคุณ ทางดีควรปฏิเสธการแชร์ข้อมูลจะดีกว่า
ด้วยการเลือก หรือไม่เลือกเช็คบ๊อกซ์นั้น
(อ่านเงื่อนไขก่อนว่า การเลือก หรือไม่เลือกนั้นหมายความว่าอย่างไร?)

2. ธุรกรรมออนไลน์ต้องมีกุญแจล็อค ทุกครั้งทีทำธุรกรรม ออนไลน์ ให้สังเกตสัญลักษณ์
ที่เป็นรูปแม่กุญแจล็อค (Lock) ทีบริเวณแถบสถานะ (Status bar) ที่อยู่ด้านล่างของบราวเซอร์
และ https:// ที่ปรากฎเป็นคำแรกในช่องแอดเดรสบาร์ (Address Bar) ซึ่งการปรากฎของข้อมูล
ทั้งสองอย่างนี้จะทำให้คุณมั่นใจได้ว่า ข้อมูลของคุณได้รับการคุ้มครองให้ปลอดภัย
3. ระวังฟิชชิ่ง (Phising Scam) หากได้รับอีเมล์แจ้ง ปัญหาเกียวกับบัญชี
(username, password หรือหมายเลขบัญขีธนาคาร) การใช้บริการของธนาคารออนไลน์
หรือสถาบันการเงินออนไลน์ต่างๆ อย่าคลิกลิงค์ที่ปรากฎในอีเมล์ หรือให้ข้อมูลกลับไป
(เช่นกรณีทีเกิดกับคุณ “เชอรี่ ผุงประเสิร์ฐ” ซึ่งหากอีเมล์นั้นใช้ทำธุรกรรมออนไลน์ด้วย
อาจจะยิ่งอันตราย เพราะผู้ไม่หวังดีอาจใช้อีเมล์นี้ในการร้องขอพาสเวิร์ดอัตโนมัติ
หรืออ้างว่าลืมจากทางธนาคารได้) ควรจะคลิกเข้าไปในเว็บไซต์ธนาคาร
เพื่อตรวจสอบว่า แอคเคาต์ของคุณมีปัญหาจริง หรือไม่? ซึงหากพบว่า ปกติดี
ให้คุณรีบแจ้งทางธนาคารให้ทราบว่า มีการโกงในลักษณะนี้
เพื่อจะได้ไม่เกิดความเสียหายกับผู้อื่นด้วย อ้อ…อย่าตกม้าตาย
ด้วยการลืม Log out (Sign out) ทุกครั้งที่ใช้อีเมล์ หรือบริการเหล่านี้ด้วยนะครับ




4. ใช้บราวเซอร์ทีมีระบบการป้องกันฟิชชิ่ง บราวเซอร์ IE, Firefox
จะมีระบบตรวจจับเว็บไซต์ปลอม โดยจะแสดงผลเน้นชื่อโดเมนของเว็บไซต์ให้เห็นเด่นชัด
ดังนั้นทุกครั้งก่อนกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มออนไลน์ใดๆ โดยเฉพาะบนเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ
หรือสถาบันการเงินต่างๆ ควรสังเกตชื่อโดเมนในช่อง Address Bar ทุกครั้ง

5. เสิร์ชอย่างปลอดภัย เพื่อความปลอดภัยในการค้นหาข้อ มูลบนเว็บไซต์ต่างๆ
แนะนำให้ติดตั้งโปรแกรมแอนตี้ไวรัส หรือโปรแกรมเสริมการทำงานที่มีระบบตรวจสอบ
ความปลอดภยของลิงค์ต่างๆ ในหน้าผลลัพธ์การค้นของเสิร์ชเอ็นจิ้นด้วย
โดยหากโปรแกรมเหล่านี้พบว่า ลิงค์ที่ค้นไม่ได้ไม่ปลอดภัยก็จะแสดงไอคอนเตือนให้ทราบทันที
ซึ่งหากไม่มี คุณผู้อ่านก็อาจจะคลิกเข้าไปยังเว็บไซต์อันตรายที่หลอกขอข้อมูลไปจนถึงแฮค
เข้าไปในระบบผ่านช่องโหว่ของบราวเซอร์

6. ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ให้ปลอดภัยอยู่เสมอ
โน้ต บุ๊กคอมพิวเตอร์ของคุณควรได้รับการตั้งพาสเวิร์ดทีแข็งแรง เพื่อป้องกันการแอบใช้
หรือเจาะเข้าไปนำข้อมูลของคุณออกมาโดยง่าย ตลอดจนอัพเดตโปรแกรมระบบรักษาความปลอดภัย รวมถึงระบบปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอ การดูแลระบบให้แข็งแรงจะช่วยป้องกันการบุกรุกเข้าไปควบคุม หรือขโมยข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ของคุณขณะออนไลน์ได้เป็นอย่างดี
หากเป็นไปได้ ไม่ควรให้ยืมคอมพิวเตอร์กับคนแปลกหน้า
และหากส่งซ่อมควรถอดฮาร์ดดิสก์ออกก่อน
(หากฮาร์ดดิสก์ไม่เสีย)
หรือสำรองข้อมูลสำคัญออกมา แล้วลบข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ออกไป

7. คิดก่อนตัดสินใจ โดยเฉพาะเรื่องทีเกียวข้องกับข้อมูลส่วนตัว ดังนั้นกฎเหล็กข้อหนึงในการป้องกันการขโมย และแอบอ้างข้อมูลส่วนตัวบนออนไลน์ไปใช้ก็คือ อย่าเชื่อทุกสิ่งที่เข้ามาในอีเมล์ ลบข้อมูลสำคัญๆ ออกไปจากเครื่องก่อนซ่อม หรือขายออกไป เพราะขโมยไม่ได้มีแค่ในโลกออนไลน์เท่านั้น
ความจริงยังมีวิธีป้องกันตัวเองอีกมากมาย แต่เชื่อว่า 7 ข้อที่นำเสนอในข่าวนี้
น่าจะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านหลายๆ ท่านพอสมควร สำหรับคุณผู้อ่านท่านใด
ทีมีวิธีการป้องกันดีๆ และอยากแชร์ให้ผู้อ่านท่านอื่นๆ ก็คอมเมนต์กันเข้ามาได้เลย
สังคมออนไลน์จะได้น่าอยู่ยิ่งขึ้น ด้วยความปรารถนาดีที่มีต่อผู้อ่านที่น่ารักทุกท่าน

ขอบคุณบทความดี ๆ จาก http://www.arip.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น